เพลงสบายๆ

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ข้อสอบ Onet คอมพิวเตอร์

  วันนี้นะครับเจ้าของโพสต์จะมา เฉลยข้อสอบO-netในหลายๆปีที่ผ่านมานะคับ จะเป็นวิชาคอมพิวเตอร์
แล้วทำไมผมถึงมาเฉลยข้อสอบของคอมพิวเตอร์ล่ะทำไมไม่ไปเฉลยวิชาอื่นเช่นคณิตศาสตร์หรืออังกฤษ ก็เพราะมันเป็นวิชาที่ถูกมองข้ามไปถึงบางคนอาจคิดว่ามันง่ายแต่พอเจอเข้าจริงๆก็ไม่รู้ว่าข้อนี้มันตอบยังไง เพราะบางเรื่องครูเขาก็ไม่ได้สอนมาหรือบ้างเรื่องก็เป็นเรื่องใกล้มากจนเราไม่ได้สนใจอะไร วันนี้ผมเลยจะมาเฉลยว่าข้อสอบในปีที่ผ่านๆมาตอบยังไงกัน
  



1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฎิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพาประเภทsmartphone
   1. Ubuntu
   2. iPhone OS
   3. Andriod
   4. Symbian

   ข้อ1 Ubuntu เป็นระุบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ไม่มีในsmartphone
   ข้อ2 เป็นระบบปฎิบัติการของsmartphone บริษัทapple
   ข้อ3 เป็นระบบปฎิบัติการของsmartphone บริษัทGoogle
   ข้อ4 ก็เป็นเป็นระบบปฎิบัติการของsmartphoneเช่นกันท

ดังนั้นข้อนี้จะตอบข้อ 1
 

2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
   1. ไฟล์เพลง MP3 (.mp3)
   2. ไฟล์รูปประเภท JPEG (.jpg)
   3. ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (.html)
   4. ไฟล์วิดิโอประเภท Movie (.mov)

   ข้อ1 ไฟล์เพลงก็ต้องเป็นไฟล์เสียงไม่มีอะไรเลยที่เป็นตัวอักษร
   ข้อ2 ไฟล์รูปก็เป็นไฟล์ประเภทรูปภาพการเก็บไม่ได้เก็บในลักษณะตัวอักษร
   ข้อ3 ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บเวลาจัดเก็บข้อมูลจะเก็บในลักษณะตัวอักษร
   ข้อ4 ไฟล์วิดิโอเวลาจัดเก็บจะจัดเก็บเป็นไฟล์วิดิโอ

ดังนั้นข้อนี้จะตอบข้อ 3


3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
   1. Microsoft Windows
   2. Ubuntu
   3. Symbian
   4. MAC Address

   ข้อ1 Microsoft Windows เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
   ข้อ2 Ubuntu เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในตระกูล Linux
   ข้อ3 Symbian เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือ Smart Phone
   ข้อ4 MAC Address ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
 
ดังนั้นข้อนี้จะตอบข้อ 4


4.รูปนี้เป็นหัวเชื่อมต่อประเภทใด และใช้สำหรับงานประเภทใด
  
   1. VGA ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับจอแสดงผล
   2. DVI ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับจอแสดงผล
   3. USB ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เสริม
   4. FireWire ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เสริม



  ข้อนี้จะตอบข้อ1นะครับหน้าตาจะแบบในรูปที่โจทย์ให้เลย
  หัวต่อDVIจะมีหน้าตาแบบนี้
 
  ส่วนตัวต่อUSBจะมีหน้าตาที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างนี้
 
  ส่วนตัวต่อFireWire

ดังนั้นข้อนี้จะตอบข้อ 1


5.การหาสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร
   1. E-Payment 

   2. E-Learning
   3. E-Sourcing 

   4. E-News

   E-Payment คือ ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
   E-Learning คือ การเรียน การสอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม
   E-Sourcing คือ กระบวนการจัดซื้อจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต

   E-News คือ หนังสือพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเสนอข่าวสารในรูปแบบหนังสือพิมพ์ทั่วไปโดยผ่านระบบอินเตอร์เนต

ดังนั้นข้อนี้จะตอบข้อ

เห็นหรือเปล่าล่ะว่าไม่ยากอะไรเลย เราแค่ต้องหาความรู้ด้านนี้ให้มากๆ อ่านข้อสอบเก่าๆบ่อยๆ แค่นี้เราก็สามารถทำได้แน่นอนครับ

ที่มา:https://pakornkrits.wordpress.com/tag/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A-o-net-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%
E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E/

http://www.admission.in.th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A-o-net-%E0%B8%A1-6-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%A2-2552/

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A2

http://beerr10a.blogspot.com/2012_02_01_archive.html

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ(2)_การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

     วันนี้เจ้าของกระทู้จะมาเขียนวิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอณ์กันนะครับ ที่เจ้าของกระทู้ทำเรื่องนี้เพราะว่าตอนนี้คอมพิวเตอร์ของเจ้าของกระทู้เสียเลยหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ แล้วก็คิดได้ว่าเราต้องทำงานนี้ด้วยก็เลยทำเรื่องนี้ไปในตัว


สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว และเลือกซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว  

แต่สำหรับสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ หรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด และแรม อุปกรณ์เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ล่ะชนิดมีดังนี้  

ซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะ ซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น และซีพียูยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของเครื่อง คอมพิวเตอร์อีกด้วย
ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต ความเร็วซีพียู แคช ความเร็วบัส
ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อซีพียู
1)  บริษัทผู้ผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูชั้นนำ 2 บริษัท คือ บริษัทอินเทล (Intel Corporation) และบริษัทเอเอ็มดี (Advanced Micro Devices: AMD) โดยทั้งสองบริษัทได้มีการผลิต ซีพียูที่แบ่งตามจำนวนของแกนประมวลผล (processing core)
2)  ความเร็วของซีพียู ความเร็วของซีพียูนี้ขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอด คล้องกัน สัญญาณดังกล่าวจะมีหน่วยความถี่เป็นเมกะเฮิรตซ์ (megahertz) หรือล้านครั้งต่อวินาที ถึงระดับกิกะเฮิรตซ์
(gigahertz) หรือพันล้านครั้งต่อวินาที
3)  หน่วยความจำแคช (Cache) ในซีพียูมีหน่วยความจำแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำความเร็วสูง เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้นเนื่องจากแรมมีความเร็วที่ช้ากว่าซีพียูจึงจำเป็น ที่ต้องมีหน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อให้ซีพียูทำงานร่วม กันได้ดีขึ้น โดยควรพิจารณาเลือกซื้อ
ซีพียูที่มีความจุของหน่วยความจำแคชมาก
4)  ความเร็วบัส คือ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่น ๆ ควรพิจารณาซีพียูที่มีความเร็วของบัสสูงและสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์ อื่น เช่น เมนบอร์ด และแรม  


เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ (mother board: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ สายสัญญาณ และบัสต่าง ๆ ขั้วต่อ
สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณืเสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และคีย์บอร์ด

โดยทั่วไปการระบุคุณลักษณะของเมนบอร์ดในชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จอาจระบุเฉพาะ ชนิดหรือจำนวนของพอร์ตและสล็อต เช่น พอร์ต USB หรือสล็อต PCI ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเมนบอร์ดเท่านั้น ตัวอย่างชนิดของพอร์ตและสล็อตที่ระบุในแผ่นพับชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ ดังรูป

สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนเมนบอร์ด หรือต้องการซื้อเมนบอร์ด เพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟรอนต์ไซด์บัส สล็อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือสล็อต พอร์ต
ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์ ตัวอย่างรายละเอียดเมนบอร์ดที่ระบุขายในเว็บไซต์ ดังรูป
 
แรม  ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM: DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อต หน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป
ควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมา คือ ขนาดความจุและความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างการระบุคุณลักษณะของแรม ดังรูป

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อแรม
1) ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ดแรมที่ใช้ในพีซี เช่น DDR , DDR2 และDDR 3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันดังรูป เพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง

2) ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือมัลติมีเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 1 GB ขึ้นไป
บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์จะมีสล็อตสำหรับติดตั้งแรมมากกว่า 1 ช่อง ผู้ใช้สามารถติดตั้งแรมได้หลายตัว แต่ต้องเป็นชนิดเดียวกัน ตามที่สล็อตติดตั้งจะมีให้ โดยความจุแรมของพีซีจะเท่ากับผลรวมจากความจุของแรมทั้งหมด ตัวอย่างการติดตั้งแรมบนเมนบอร์ด

3) ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วบัสของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น
ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด เช่น (FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066 MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะไม่สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้ ตัวอย่างของระบบบัสบนเมนบอร์ดกับแรมเปรียบได้กับการที่รถวิ่งบนถนนเพื่อไป ให้ถึงจุดหมาย 
ในบางครั้งอาจใช้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลในการจำแนกรุ่นของแรม เช่น PC2-5400 คือ แรมชนิด DDR2 -667 ที่มีค่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 5,400 MB/s หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่จะรับส่งได้ภายในหนึ่งวินาที (คำนวณจาก 667 MHz x 8 ไบต์)สำหรับการเลือกแรม
ที่ใช้กับพีซีเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน 

  
ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันในพีซี โดยทั่วไป คือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้ว นั้นนิยมใช้กับโน้ตบุ๊ก ดังรูป

การพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเชื่อมต่อ ความจุของข้อมูล และความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์มีราคาแตกต่างกัน

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
1) การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่บนพีซีในปัจจุบันใช้มาตรฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดว่ารับรองการเชื่อมต่อแบบใด ตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ SATA และ EIDE 
2) ความจุของข้อมูล มีหน่วยเป็นกิกะไบต์ (GB) หรือเทระไบต์ (TB) ซึ่งขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

3) ความเร็วรอบ เป็นอัตราเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน-เขียน เข้าถึงข้อมูลฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่ง ข้อมูลสูง โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของพีซีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (rpm)


การ์ดแสดงผล (display card , graphics card หรือ video card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลมาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว
การที่ผู้ใช้ต้องการปรับปรุงการ์ดแสดงผล เนื่องจากต้องการใช้กับงานที่ต้องการแสดงผลภาพสามมิติได้อย่างคมชัด ซึ่งคอมพิวเตอร์ชุดสำเร็จที่ผู้ขายจัดให้อาจไม่สามารถแสดงผลภาพดังกล่าวได้ อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อการ์ดแสดงผล เช่น
ชิปประมวลผล กราฟิก การเชื่อมต่อ และความจุของหน่วยความจำบนการ์ด ตัวอย่างการระบุคุณลักษณะของการ์ดแสดงผล

ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
1) ชิปประมวลผลกราฟิก หรือจีพียู (graphic processing unit: GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยลดภาระซีพียูในการคำนวณ ข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ ตัวอย่างการเลือกซื้อจีพียู เช่น ถ้าต้องการประมวลผลภาพ 3 มิติ อาจใช้ชิปของบริษัท nVIDIA
รุ่น GeForce 9 และ GTX2xx หรือชิปของบริษัท ATi รุ่น Radeon HD 4000
2) การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และบัส AGP โดย PCI Express จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งสามารถให้ความเร็วสูงสุดได้ถึง 16 GB/s ส่วน AGP มีประสิทธิภาพลองลงมา
3) ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด  หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ ถ้าความจุของหน่วยความจำมาก จะทำให้แสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดี การบอกความจุของหน่วยความจำบนตัวการ์ด เช่น DDR3 512 MB



ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ (Optical disk drive) ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซีดีไดร์ฟและดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่พีซีทุกเครื่องควรมี เนื่องจากซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมาก นอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสูงและมีราคาถูก

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ จะพิจารณาจากความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละชนิดจะระบุความเร็วไว้แตกต่างกันตามชนิดของออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ดังนี้
1. ซีดีไดร์ฟ (Compact Disc Drive: CD Drive) ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว
2. ดีวีดีไดร์ฟ (Digital Versatile Disc Drive: DVD Drive) ใช้อ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้
3. ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Compact Disc Rewritable Drive: CD-RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 52x/32x/52x หมายความว่าความเร็วในการเขียน CD-R เท่ากับ 52x ความเร็วในการเขียนซ้ำ CD-RW เท่ากับ 32x
และความเร็วในการอ่าน CD-ROM เท่ากับ 52x
4. คอมโบไดร์ฟ (Combo Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดี และอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 52x/32x/52x/16x
5. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Digital Versatile Disc Rewritable Drive: DVD+RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 20x/12x/20x/8x
เคส (case) โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคส
หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส เช่น
- มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
- มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์ การเพิ่มซีดี/ดีวีดีไดร์ฟ
- ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน ที่เรียกว่า เดสก์ท็อปเคส (desktop case) และเคสในแนวตั้งที่เรียกว่า ทาวเวอร์เคส (tower case) ตัวอย่างของเคสแบบต่าง ๆ ดังรูป

- ในกรณีที่เป็นการใช้งานโดยทั่วไป อาจเลือกใช้เคสที่มีแหล่งจ่ายไฟ (power supply) ติดตั้งมาให้สำเร็จแล้ว แต่ถ้าต้องการติดตั้งอุปกรณ์ภายในหลายชิ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผลความเร็วสูง และพอร์ต USB ควรพิจารณาเลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีความสามารถสูงขึ้น     


จอภาพ (monitor) ที่พบจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT) และจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD) ซึ่งในปัจจุบันจอแอลซีดีเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่ในการจัดวางน้อย
ตัวอย่างคุณลักษณะของจอภาพดังรูป
 
ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
- ความละเอียดของภาพ (resolution) หมายถึง จำนวนจุดหรือพิกเซลบนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียดสูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น จอภาพที่มีความละเอียด 1680 x 1050 เป็นจอภาพที่มีจุดภาพในแนวนอน 1680 จุด และมีจุดภาพในแนวตั้ง 1050 จุด
- ขนาด (size) ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม เช่น จอแบบ 19 นิ้ว และแบบ 21 นิ้ว
นอกจากนี้จอภาพยังสามารถเลือกความสว่าง (brightness) และความเปรียบต่าง (contrast) ได้อีกด้วย การแสดงผลของจอภาพนั้นจะต้องมีการ์ดแสดงผล เป็นตัวประสานงานระหว่างซีพียูกับจอภาพ โดยสัญญาณภาพจะถูกส่งออกมาจากการ์ดแสดงผลนี้ จอภาพโดย
ทั่วไปจะมีพอร์ตต่อแบบวีจีเอ (Video Graphics Array: VGA) ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณแอนะล็อกมาจากการ์ดแสดงผล จอภาพบางรุ่นจะมีพอร์ตต่อแบบดีวีไอ (Digital Video Interface: DVI) ซึ่งเป็นการรับข้อมูลภาพแบบดิจิทัลซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดกว่า


ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/82319?page=0,5